มีอะไรๆที่น่าสนใจมาใหเพื่อนๆอ่านกัน
ก็ใช้หวีนั่นแหละจ้ะ เชื่อกันว่าหวีชุดแรกสุด คือ กระดูกสันหลังตากแห้งของปลาขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันยังคงใช้กันอยู่ในหมู่ชนเผ่าดั้งเดิมของแอฟริกา รูปลักษณ์ของหวีสะท้อนอย่างชัดเจนในคำภาษาอินโดยูโรเปียนโบราณว่า “gombhos” ซึ่งแปลว่า “ฟัน” อันเป็นรากศัพท์ของคำว่าหวีในภาษาอังกฤษ “comb”
หวีเก่าแก่ที่สุดที่คนประดิษฐ์ขึ้นถูกขุดพบในหลุมฝังศพอายุ ๖,๐๐๐ ปี ในอียิปต์ หวีหลายด้ามได้รับการออกแบบอย่างชาญฉลาด ตัวอย่างเช่น บางด้ามมีซี่ฟันเสมอกันแถวเดียวบางด้ามมีซี่ฟันสองแถว บ้างก็มีซี่ฟันในแถวแรกถี่กว่าและสูงกว่าในแถวที่สอง หวีเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันของทั้งผู้ชายและผู้หญิง ชาวอียิปต์นอกจากใช้หวีหวีผมแล้ว ยังใช้เสียบผมให้เป็นทรงตามต้องการด้วย
ในยุคต้นของคริสต์ศาสนา การหวีผมเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา ในทำนองเดียวกับการล้างเท้า วิธีที่ถูกต้องในการหวีผมของพระก่อนประกอบศาสนพิธีใด ๆ ถูกกำหนดไว้เป็นแบบแผนตายตัว วีรชนคริสเตียนผู้สละชีพเพื่อศาสนาจะถูกฝังไปพร้อมกับหวีของเขาซึ่งทำจากงาช้าง หรือโลหะ นักประวัติศาสตร์ศาสนาสันนิษฐานว่า ครั้งหนึ่งหวีต้องมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่สัญลักษณ์ จากหลักฐานที่ว่าหน้าต่างโบสถ์จำนวนมากในสมัยกลางซึ่งประดับด้วยกระจกสี มักมีรูปหวีปรากฏอยู่เสมอ
อำนาจวิเศษก็เข้ามาเกี่ยวข้องกับหวีด้วยเช่นกัน ในราว ค.ศ. ๑๖๐๐ คนในหลายส่วนของยุโรปเชื่อกันว่าผมหงอกขาวอาจกลับคืนเป็นสีเดิมได้ ถ้าหวีผมด้วยหวีตะกั่วเป็นประจำภายหลังมีคำอธิบายปรากฏการณ์นี้ว่า สีดำจากตะกั่วอ่อนคุณภาพต่ำซึ่งใช้ทำหวี อาจค่อย ๆ หลุดลอกมาเคลือบเส้นผมไว้ทำให้สีผมดูเข้มขึ้น
จากเมื่อแรกกำเนิด รูปลักษณ์ของหวีแทบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย จนกระทั่งปี ค.ศ. ๑๙๖๐ เมื่อหวีไฟฟ้าเพื่อจัดทรงผมถูกประดิษฐ์ขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
เปิดหมา โอ้ว น้องหมาทางขวาน่ารักมากบุ๊คจ๋า
...อื๋มม น่าสนใจแฮะ ไม่เคยรู้ความเป็นมาของหวีมาก่อนเลย
ถ้าหวี เดิมทีมีรากศัพท์+ต้นกำเนิดมาจากฟันแล้ว
ถ้าลองเอาฟันคนมาหวีผมจะโอเคไหมเนี่ย 555+
แสดงความคิดเห็น